บาร์โค้ดมีกี่ประเภทกันนะ ?
บาร์โค้ดมีกี่แบบ กี่ประเภทกันนะ?
เทคโนโลยี บาร์โค้ด หรือ รหัสแท่ง นับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในกา รทำธุรกิจปัจจุบันต่างๆ มากมาย เป็นเครื่องหมายแทนข้อมูลที ่อ่านได้ด้วยแสง (optical machine-readable) ช่วยให้ทำงานกับระบบหรือสินค้า ที่มีความซับซ้อนและปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้งานกันอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ บาร์โค้ดชิงเส้น หรือ บาร์โค้ดหนึ่งมิติ (1D) และอีกรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ใหม่ เป็นแบบเป็นจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และรูปแบบทางเรขาคณิตอื่น ๆ เรียกว่า บาร์โค้ดสองมิติ (2D) มาลองดูมาตรฐานบาร์โค้ดในปัจจุบัน ที่มีการใช้งานแพร่หลาย ว่ามีแบบไหนบ้าง
โค้ด 39
เป็นโค้ดมาตรฐานที่เก่าแก่ที่สุดอันนึงของระบบบาร์โค้ด ส่วนใหญ่พบเห็นได้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า, ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ และใช้งานในหน่วยงานรัฐฯ เป็นประเภท Lineal แบบ 1D เป็นโค้ดที่สามารถบรรจุข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข (Alphanumeric Code) รองรับชุดตัวอักษร 128 ASCII สามารถขยายความยาวเพิ่มได้เรื่อยๆ แต่ถ้าหากว่าพื้นที่จำกัดแล้วข้อมูลเยอะ สามารถใช้เป็น Code 128 แทน
โค้ด 128
คล้ายกันกับแบบ Code 39 แต่ว่าจะมีขนาดแถบบาร์โค้ดท ี่เล็กกว่า รองรับชุดตัวอักษร 128 ASCII มีฟีเจอร์ Automatic Switching Setting ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถป รับแต่งความยาวของบาร์โค้ดได้
โค้ด 2 of 5
เป็นโค้ดชนิดที่ใช้งานมากในอุตสาหกรรมคลังสินค้า, ขนส่ง และโรงงานผลิต เป็นบาร์โค้ดที่จุได้เฉพาะข้อมูลตัวเลขเท่านั้น ใช้สำหรับเข้ารหัสชุดตัวเลขแบบคู่ ในทุกๆ ตัวเลข 2 หลัก จะสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา 1 ตัว ต้องมีจำนวนตัวเลขลงให้ครบเป็นหลักคู่ ถ้าหลักตัวเลขคี่ ก็มักจะเติม 0 เข้าไปให้เต็มเป็นหลักคู่
โค้ด UPC
นับว่าเป็นโค้ดพบได้ในสินค้าปลีกทุกประเภท เพราะเป็นบาร์โค้ดที่ถูกคิดค้นขึ้นมาสำหรับใช้ในร้านสะดวกซื้อ สำหรับการพิมพ์ใบเสร็จที่รวดเร็ว และใช้เพื่อนับจำนวนสินค้าในสต็อกของร้าน หลังจากที่ลงทะเบียนขอบาร์โค้ดมาแล้ว ผู้ผลิตสินค้าจะได้ชุดตัวเลขเฉพาะของตัวเองมา สำหรับใช้พิมพ์ติดลงไปที่สินค้าได้เลย สินค้าแต่ละตัวก็จะมีรหัสเฉพาะของตัวนั้นๆ
โค้ด EAN
International Article Number หรืออีกชื่อว่า European Article Number เรียกกันย่อ ๆ ว่า EAN เป็นมาตรฐานสัญลักษณ์บาร์โค้ดที่บรรจุข้อมูลชุดตัวเลข ใช้สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วโลก เพื่อระบุชนิดหรือประเภทสินค้านั้น ๆ กำหนดโดยองค์กรที่ชื่อว่า GS1
มาตรฐานที่ใช้งานกันมากที่สุดคือ EAN-13 ที่จะมีชุดตัวเลขทั้งหมด 13 หลัก โดยจะมีตัวแรกสุดที่อยู่ในตำแหน่งนอกเส้นบาร์โค้ด
โค้ด PDF417
เปลี่ยนจากแบบแถวเดียว 1D มาเป็นแบบใหม่ 2D ที่จุข้อมูลได้เยอะขึ้นกันบ้าง มาตรฐานนี้ใช้กันมากในข้อมูลยืนยันตัวตน อย่างเช่นบนใบขับขี่ มีใช้งานในไปรษณีย์ของสหรัฐอเมริกา และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าบาร์โค้ด 2D ตัวอื่นๆ
โค้ด Data Matrix
เป็นโค้ดมาตรฐานที่ใช้งานเป็นหลัก สำหรับบาร์โค้ดแบบ 2D มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก โดยใช้พื้นที่น้อย เป็นที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ระบบ 2D จำเป็นต้องใช้ตัวอ่าน Scanner เฉพาะที่รองรับด้วย สามารถอ่านได้จากกล้องมือถือ
โค้ด QR Code
นับว่าเป็นเทรนด์บาร์โค้ดใหม่ล่าสุด ที่มีการใช้งานแพร่หลายเป็นวงกว้าง เรียกกันสั้นๆ ว่า QR Codes นอกเหนือจากการใช้งานในอุตสาหกรรมเดิมๆ ยังมีการนำเอามาใช้เพื่องานด้านการตลาดด้วย แม้ว่าจะไม่ได้มีขนาดเล็กเท่ากับ Data Matrix สามารถบรรจุข้อมูลลิงก์เว็บไซต์ลงไปได้ มักจะพบเห็นได้ตามป้ายโฆษณาต่างๆ หรือตามหน้าร้าน สำหรับใช้ดูข้อมูลโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ และข้อมูลของร้าน หรือองค์กร