แชร์

ฟีเจอร์รายงาน Order POS ทำอะไรได้บ้าง?

อัพเดทล่าสุด: 28 ต.ค. 2024
32 ผู้เข้าชม
ฟีเจอร์รายงาน Order POS ทำอะไรได้บ้าง?

ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมจัดการหน้าร้านรูปแบบไหน เราเชื่อว่าเหล่าเจ้าของกิจการก็ต้องการรู้เรื่อง รายงาน มากที่สุด เพราะฟีเจอร์รายงานนี่แหละคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้รู้เลยว่าตอนนี้ร้านอาหารของคุณ หรือกิจการของคุณเนี่ย มีรายได้ มีแนวโน้มว่าจะขายดี หรือไมดี และสต็อกสินค้าเนี่ยเข้ามาตรงตามที่เราสั่งซัพพลายไปไหม ? และถ้าจะให้มานั่งจด หรือนั่งจำทุกเดือน ทุกอาทิตย์ หรือหนักสุดให้นั่งจำทุกวัน บอกเลยว่าเจ้าของกิจการหัวแทบจะระเบิด และเสียเวลาสุดๆ แน่นอน !

เพราะฉะนั้น ระบบ Order POS จึงคิดแล้วคิดอีก พัฒนาระบบจนสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้โดยเฉพาะ แบบละเอียดยิบ และเจาะลึกสุดๆ ในระดับที่ว่าสักหน่วย สักชิ้น หรือสักสตางค์ก็ไม่สามารถรอดพ้นสายตาฟีเจอร์รายงานของระบบ Order POS ไปได้แน่นอน 

เกริ่นมาขนาดนี้ วันนี้เราเผยให้รู้กันไปเลยว่า ฟีเจอร์รายงานของ Order POS รายงานอะไรได้บ้าง มาดูกันเลย 





ฟีเจอร์รายงานคลังสินค้า คืออะไร?

ฟีเจอร์รายงานคลังสินค้า คือ 1 ในฟีเจอร์สำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถรับรู้การเข้าออกของสต็อกสินค้าภายในคลังได้

โดยจะมีหัวข้อย่อยต่างๆ ในหมวดรายการคลังสินค้านี้

1. รหัสสินค้า

2. ชื่อคลังสินค้า

3. ประเภทคลังสินค้า

4. หมวดสต็อกสินค้า

5. หน่วยสต็อก

6. จำนวนสินค้าในคลัง

โดยในฟีเจอร์นี้เจ้าของกิจการสามารถรู้ได้ว่ามีสต็อกสินค้าชนิดนี้นำเข้ามาเท่าไร ที่เข้ามานับเป็นหมวดหมู่อะไร (เช่น หมวดหมู่เครื่องปรุง) หรือนำสินค้าเข้ามาแล้วสต็อกคงเหลือเท่าไรในปัจจุบัน

รวมทั้งยังสามารถตั้งค่า "สต็อกเตือนได้ด้วย" (สต็อกสินค้าต่ำ / สต็อกสินค้าหมด) และยังสามารถตั้งค่าให้แจ้งเตือนสต็อกสินค้าผ่านทางอีเมลล์ของเจ้าของ หรือพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องสต็อกได้เช่นกัน



1. รายงานสต็อกขาเข้า

รายงานสต็อกขาเข้าจะทำให้รู้ว่า ในตอนนี้ทางร้านได้นำเข้าสต็อกสินค้าเข้ามาเวลาไหน หรือวันไหนบ้าง และนำเข้ามาโดยซัพพลายเออร์รายไหน (เช่น โกดัง A) พร้อมทั้งบอกยอดที่เสียไปจากการนำเข้าสินค้า และบอกสถานะของสินค้านำเข้าว่าได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้ว

โดยถ้าหากทางร้านได้ตรวจสอบการนำเข้าแล้ว สถานะของสต็อกขาเข้าจะขึ้นว่า "ยืนยัน" แต่ถ้าหากยังไม่ได้ยืนยันจะขึ้นว่า "ยังไม่ได้ยืนยัน" ซึ่งจะปรากฏในช่องสุดท้ายของเพื่อรอให้กดยืนยันนั้นก็ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์




2. รายงานสต็อกขาออก

รายงานสต็อกขาออกจะทำให้รู้ว่า ตอนนี้ทางร้านมีสต็อกขาออกจากสาเหตุอะไร เช่น ถ้านำสต็อกสินค้าประเภทวัตถุดิบปรงุอาหาร ระบบจะขึ้นว่าเป็นประเภทขาออกที่ "มีการผลิตและขายออกไปแล้ว" หรือถ้าวัตถุดิบ , สินค้า เกิดชำรุดเสียหาย ระบบจะขึ้นโชว์ที่ประเภทขาออกว่า "เสีย หรือชำรุด" แทนนั้นเอง

และระบบสามารถแจ้งวัน - เวลาที่มีสต็อกขาออก พร้อมบอกสถานะของสินค้านำออกว่าได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้ว รวมทั้งระบบแจ้งว่าผู้ใช้งานที่คีย์ข้อมูลสต็อกสินค้าขาออกคนนั้นคือใคร หรือพนักงานคนไหนได้ด้วย 




3. การนับสต็อกสินค้า

การนับสต็อกสินค้าในรายงานนี้สามารถดูสถานะของสต็อกสินค้าที่ได้รับสถานะการยืนยันแล้ว พร้อมทั้งแสดงวัน - เวลา ที่มีการนับสต็อกเสร็จสิ้น พร้อมกับรหัสของสต็อกสินค้า และผู้ประกอบการที่ยืนยันการนับสต็อก

ทั้งนี้ในกรณีที่สถานะการนับสต็อกยังไม่ได้รับการยืนยันจะขึ้นตรงสถานะดำเนินการว่า "ยังไม่ได้รับยืนยัน" แต่ถ้ายืนยันเสร็จสิ้้นแล้วจะไม่มีข้อความไหนปรากฏขึ้นมานั่นเอง 

 

4. ประวัติสต็อกสินค้า

ประวัติสต็อกสินค้า จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าตอนนี้ในสต็อกสินค้ามีวัตถุดิบอะไรบ้าง หรือว่าตัววัตถุดิบได้โดนใช้ไปแล้วหรือยัง และใช้ไปเท่าไร รวมถึงตอนนี้หลังจากที่วัตถุดิบได้ถูกใช้ไปแล้วจะเหลือในคลังปริมาณเท่าไรตรงนี้ระบบก็จะมีการแจ้งไว้ให้เลยทันที นอกจากนี้จะรวมไปถึงเวลาที่มีการปรับปริมาณวัตถุดิบจะแจ้งให้ทราบว่าวัตถุดิบถูกใช้ไปในวันไหน - เวลาไหนนั่นเอง

 

5. รายงานสรุปยอดคำสั่งซื้อ

มาถึงรายงานสรุปยอดคำสั่งซื้อ เมื่อขายได้แล้วเจ้าของกิจการก็อยากที่จะรู้ว่ายอดคำสั่งซื้อเนี่ยเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งในรายงานสรุปยอดคำสั่งซื้อนี้จะแสดงผลถึงจำนวนเงินที่ยังคงค้างชำระ และจำนวนคำสั่งซื้อที่ยังค้างชำระ (ในกรณีที่ลูกค้ายังรับประทานอาหารภายในร้าน จะแสดงขึ้นว่ายังค้างชำระอยู่นะ )
รวมถึงแยกบิลล์ชำระ ก็จะแสดงให้เห็นที่รายงานนี้

นอกจากนี้ยังสามารถเช็คจำนวนเงินทั้งหมดที่ขายออกไป ค่าภาษี จำนวนเงินคืน และยอดขายจริงๆ โดยที่ยังไม่รวมค่าภาษีว่าได้เท่าไร ทั้งนี้สามารถดูรายงานย้อนหลังสรุปยอดได้มาถสูงสุด 30 วัน พร้อมส่งรายงานไปที่อีเมลล์ของคุณ หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ตรงนี้ได้ และยังพิมพ์รายงานออกมาดูย้อนหลังได้ยาวๆ อีกด้วย

 

 ก่อนจะไปที่ข้อถัดไป เราขอคั่นด้วย การส่งรายงานไปที่อีเมลล์  

ว่าตัวรายงานเมื่อถูกส่งออกไปทางอีเมลล์แล้วจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มาดูกัน

การส่งรายงานไปที่อีเมลล์ ตัวอีเมลล์ของรายงานจะส่งไปตามเวลาที่คุณต้องการ (คสามารถตั้งค่า และปรับเวลาให้ส่งไปที่อีเมลล์ของคุณได้ตลอดได้ไม่จำกัด) ซึ่งเมื่อส่งไปแล้ว หน้าตาของอีเมลล์ผลรายงานยอดสรุปคำสั่งซื้อจะเป็นตามรูปนี้ทั้งหมด และมีรายละเอียดตามนี้

 

6. รายงานคำสั่งซื้อ

ในหน้ารายงานคำสั่งซื้อนี้จะรายงานเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อให้รู้ว่าทุกคำสั่งซื้อที่เข้ามาในร้านเข้ามาในรูปแบบไหน โดยจะแยกประเภทให้ 2 ประเภท

1. จำนวนที่เข้ามารับประทานในร้าน

2. จำนวนที่ลูกค้าซื้อกลับบ้าน ว่ามีเท่าไร และรวมแล้วรายการคำสั่งซื้อได้เท่าไรนั่นเอง

 

 

7. รายงานประจำวัน


ในส่วนของ รายงานประจำวัน ระบบจะแสดงให้เห็นว่าในแต่ละวันที่ร้านของคุณมียอดขายรวมกี่บาท ได้จำนวนเงินเท่าไร และขายออกไปได้กี่อย่างอย่างละเอียดยิบเลย

 

 

8. รายงานการชำระเงิน


ในหน้า รายงานการชำระเงิน นี้ ระบบจะเผยให้เห็นจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้รับว่าได้มาทั้งหมดกี่บาท และได้ยอดมาจากการชำระแบบใด โดยจะแยกออกให้ตามประเภท ดังในตัวอย่างที่มียอดจากการโอนชำระ และยอดจากเงินสด หรือยอดจากการตัดบัตรเครดิต ฯลฯ รวมทั้งยอดเงินคืน / ค่าเสียภาษี และยอดที่ขายได้จริงหลังหักภาษีแล้วจะได้ทั้งหมดกี่บาทนั่นเอง 

 

 

9. รายงานผลิตภัณฑ์ ประเภทหมวดหมู่ยอดนิยม


รายงานนี้จะโชว์หมวดหมู่ที่เป็นที่นิยมในร้านคุณตามลำดับ (จากมาก - น้อย) และยอดจำนวนราคาตามที่ขายได้แต่ละเมนูยอดนิยม พร้อมคิดเป็นอัตราส่วนการขายออกมาให้อัตโนมัติ รวมทั้งระบบจะแจ้งปริมาณที่ขาย และเปอร์เซ็นต์จากการขายว่าคิดแล้วได้เท่าไร โดยที่คุณไม่ต้องคำนวนเองให้ปวดหัวเลย

 

 

9.1 รายงานผลิตภัณฑ์ ประเภทผลิตภัณฑ์ยอดนิยม
ในหัวข้อรายงานนี้ ทางระบบจะมีชื่อเมนูที่ได้รับความนิยมตามลำดับจากมากไปน้อย และแจ้งยอดจำนวนเงินที่ขายได้ พร้อมคิดเป็นอัตราส่วนการขายออกมาให้อัตโนมัติ รวมทั้งแจ้งปริมาณที่ขาย และเปอร์เซ็นต์จากการขายที่ผ่านการคิดของระบบมาแล้วว่าได้เท่าไรเช่นกัน 

 

 

9.2 รายงานผลิตภัณฑ์ ประเภทความต้องการสูงสุด


รายงานนี้จะมีชื่อ รายการความต้องการสูงสุด เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยให้ (เช่น แบบชามพิเศษ พิเศษลูกชิ้น ฯลฯ) พร้อมบอกยอดรวมราคาขาย และอัตราส่วนการขายแต่ละอย่างคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ และจำนวนปริมาณที่ขายออกไปได้อัตโนมัติ ไปจนถึงเปอร์เซ็นต์จากการขายที่ทางระบบจะสรุปให้ว่าคิดแล้วได้กี่เปอร์เซ็นต์ 

 

 

9.3 รายงานผลิตภัณฑ์ ประเภทตัวเลือกพิเศษยอดนิยม


ในรายงานจะนี้ทางระบบจะมีชื่อตัว เลือกพิเศษยอดนิยม ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเรียงตามลำดับลงมาจากมากไปน้อย พร้อมกับแจ้งปริมาณที่ขายออกไปได้ว่ามีปริมาณเท่าไร และได้เปอร์เซ็นต์จากการขายตัวเลือกพิเศษยอดนิยมเท่าไร เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงเลยเพราะทางระบบคิดให้แล้วอัตโนมัติ เจ้าของร้านชิลล์ๆ สบายๆ ได้เลยทันที

 

 

10. รายงานร้านค้า


ในรายงานนี้จะแสดงยอดของร้านค้าว่ามีรายได้เข้ามาเท่าไรบ้าง และจำหน่ายสินค้าแต่ละชนิดออกไปได้จำนวนเท่าไรบ้าง

ทั้งนี้ในกรณีที่ร้านของคุณมี มากกว่า 1 สาขา คุณก็สามารถเช็คดูยอด และปริมาณการจำหน่ายของแต่ละสาขาได้เลยทันทีว่าแต่ละสาขายอดเป็นอย่างไรบ้าง นับว่าสะดวกสบายสุดๆ และตัวรายงานร้านค้าก็สามารดูรายงานย้อนหลังได้มากถึง 30 วันเชียวล่ะ 

 

 

11.รายงานภาษี


ในหน้านี้จะเป็นรายงานเกี่ยวข้องกับภาษีทั้งหมด ซึ่งตัวรานงานภาษีจะบอกรายละเอียดทั้งหมดตั้งแต่

  • วันที่ - เวลาที่มีการจ่ายภาษี
  • จำนวนภาษี
  • จำนวนเงินที่เสียภาษี 
  • อัตราเสียภาษี 7% 
  • รหัสคำสั่งซื้อ และชื่อของพนักงานที่อยู่ในกะเวลาทำงานนั้นๆ

 

 

12.รายงานการส่งออก


ในหน้ารายงานนี้คุณสามารถดูรายงานร้านอาหาร หรือกิจการของคุณได้เลย โดยจะมีวัน - เวลา แจ้งว่ารายงานฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์เมื่อไร พร้อมทั้งยังสามารถดาวน์โหลดรายงานส่งออกเป็น "ไฟล์ Excel" เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด และสามารถดูรายงานย้อนหลังได้มากถึง 30 วัน

 

 

มาถึงรายงานตัวสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้

13.รายงานเวลาเปิด - ปิดกะ


ในหน้ารายงานนี้ทางระบบจะโชว์ให้เห็นว่าในช่วงกะเวลาเข้างานของวันนี้พนักงานคนไหนเป็นคนเข้ามาเปิดกะ และเริ่มเปิดกะวันไหน - เวลาไหน ไปจนถึงเวลาที่ปิดกะ ปิดกี่โมง และระบบจะทำการรวมระยเวลาเปิด - ปิดกะ ให้อัตโนมัติ

รวมทั้งตัวรายงานยังมีสรุปตามนี้

  • รายงานยอดจำนวนเงิน
  • รายงานการทำธุรกรรม
  • รายงานลิ้นชักเก็บเงิน

ซึ่งตัวรายงานนี้จะสามารถแจ้งได้ว่ามีเงินเปิดร้านวันนี้กี่บาท ไปจนถึงรายงานการชำระเงินต่างๆ ของร้านโดยเฉพาะ ซึ่งในหน้ารายงานนี้เจ้าของกิจการสามารถพิมพ์รายงานออกมาตรวจเช็คซ้ำ หรือเก็บเป็น Report เอาไว้เช็คย้อนหลังได้เช่นกัน 

 

เท่านี้คุณก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าระบบจัดการหน้าร้าน Order POS ของเราสามารถช่วยคุณเรื่องรายงานได้อย่างละเอียดยิบ พร้อมให้ธุรกิจของคุณผิดพลาดน้อยลง ลดทอนเวลาที่ไม่จำเป็นของคุณ เพียงเริ่มต้นปีละ 3,590 บาทเท่านั้น

เท่านี้คุณก็จะสามารถบริหารร้านอย่างเป็นมืออาชีพด้วยตัวช่วยมือขวาธุรกิจร้านอาหารอย่าง Order POS แล้ว (สนใจระบบ คลิกที่นี่)

บทความที่เกี่ยวข้อง
Credit Term ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง
เมื่อรายรับสวนทางรายจ่าย ต้องรีบหาวิธีเพิ่มสภาพคล่อง "การขอเครดิตเทอม" เป็นทางออกที่เวิร์คที่สุด
14 พ.ย. 2024
3 Tips ง่ายๆ คุมต้นทุนอยู่หมัด ร้านเปิดใหม่รู้ไว้ช่วยได้!
วันนี้ Worrex มี 3 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยให้ร้านค้ายุคใหม่ คุมต้นทุนได้อยู่หมัดของแท้
31 ต.ค. 2024
5 ข้อระวัง เปิดธุรกิจแฟรนไชส์
เตือนธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยากเจ๊ง ไม่อยากพลาด แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี บทความนี้ช่วยคุณได้แน่นอน
7 ต.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรับประกันสินค้า และ การรับประกันสินค้า
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy