แชร์

3 คู่มือ วางระบบร้านใหญ่ใจต้องนิ่ง

อัพเดทล่าสุด: 3 ต.ค. 2024
65 ผู้เข้าชม

Worrex เคยได้พูดถึงเทคนิคการดูแลร้านอาหารขนาดเล็กมาแล้ว วันนี้เลยถึงคิวร้านอาหารใหญ่กันบ้าง หรือร้านที่มีหลายสาขา หลาย ๆ คนมองว่าร้านอาหารขนาดใหญ่ที่เปิดกิจการมาสักพักนึงแล้ว คงจะบริหารงานได้สบายตัว บริหารได้แบบมือโปรสุดๆ หรือคล่องตัวขึ้น ด้วยเงินทุนขนาดใหญ่ ที่ไม่ว่าจะมีปัญหาเล็กใหญ่สักแค่ไหน ก็แค่จ้างพนักงานเพิ่มง่ายๆ หรือใช้เงินแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ก็จบแล้ว

แต่ที่แท้จริงแล้วร้านอาหารใหญ่ๆ ก็เปรียบเสมือนกับการเปิดธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นมา ที่ไม่ได้หมายถึงว่า "เจ้าของกิจการมีเงินเยอะจะแปลว่าอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง" เพราะก็จะเห็นได้ว่ามีภัตตาคารใหญ่จำนวนมากที่ปิดกิจการลงไป ถึงแม้จะขายดี ลูกค้าเยอะแค่ไหนมากก็ตาม เพราะสุดท้ายแล้ว การวางแผนการจัดการ (Management) คือหัวใจสำคัญเมื่ออยากจะทำการใหญ่ให้รอดตลอดรอดฝั่งนั่นเอง ว่าแล้วก็มาดู 3 คู่มือหลักๆ กันเถอะ !

1. บริหารหน้าที่พนักงานอย่างชัดเจน 
ยิ่งมีลูกค้าเยอะ บวกกับร้านใหญ่แค่ไหน จะให้ลูกค้าเดินเข้าร้าน นั่งโต๊ะไหนก็ได้ ก็คงไม่ใช่แผนที่เวิร์คสักเท่าไหร่ หากคุณลอลสังเกตุร้านอาหารใหญ่ ๆ หรือภัตตาคารที่ต่างประเทศ จะเห็นว่าจะมีพนักงานคอยให้บริการเราอยู่ตลอดการใช้บริการ (Customer Journey) ตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้าหน้าร้าน นั่งโต๊ะ สั่งอาหาร ยันทานเสร็จจนจ่ายเงินเลยทีเดียว

ซึ่งตรงนี้จะต่างจากร้านอาหารในประเทศเราซะส่วนใหญ่ที่มักจะมีพนักงานเยอะ แต่ละคนก็เดินทำทุกหน้าที่ เรียกว่าเหมาทุกตำแหน่งก็ว่าได้ ไม่ว่าจะรับออเดอร์ เสิร์ฟอาหาร คิดเงินลูกค้า ไหนจะต้องคอยนับสต๊อก หรือเตรียมอุปกรณ์การกินในคนเดียวอีก แบบนี้ยิ่งเพิ่มภาระงานให้พนักงานโดยไม่จำเป็น ที่จะยิ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และเกิดข้อผิดพลาดง่ายขึ้นด้วย

ซึ่งผังองค์กรร้านอาหารใหญ่ ๆ ที่แบ่งหน้าที่พนักงานครบทุกหน้าที่ จะแบ่งออกตามนี้ 



1. ผู้จัดการร้านอาหาร
คอยดูแลภาพรวม ทุกรายละเอียดทั้งงานหน้าร้านและหลังร้าน ซึ่งผู้จัดการร้านอาหารควรมีประสบการณ์และทักษะที่หลากหลาย พร้อมสภาวะผู้นำที่ดีในงานร้านอาหาร เพราะทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้จัดการร้านอาหารจะเป็นตัวหลักในการตัดสินใจเป็นอันดับแรกๆ เสมอ

หน้าที่หลักของผู้จัดการร้านอาหาร

  • ดูแลพนักงาน ทุกเรื่อง เช่น ค่าแรง, กะงาน, สวัสดิการ, หน้าที่ความรับผิดชอบ และการว่าจ้างพนักงานใหม่
  • ดูแลบัญชีร้านอาหาร ไปจนถึงยอดขาย รายรับ-รายจ่าย
  • ควบคุมการให้บริการให้ไม่ชุลมุนจนเกินไป
  • วางแผนกลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการเพิ่มยอดขาย และเรื่องลดต้นทุนร้านอาหาร
  • มีหน้าที่สื่อสารกับลูกค้า พนักงาน และเจ้าของร้านอาหารในวันที่มีปัญหาต้องแก้ไข 

 


2. พนักงานหน้าร้าน (Front-of-stage) ประกอบไปด้วย

  • พนักงานต้อนรับลูกค้า (Host) มีหน้าที่คอยยืนหน้าร้าน รับจองคิว เรียกคิวลูกค้า ตอบข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับร้านอาหาร พาลูกค้าไปที่โต๊ะอาหารต่าง ๆ และส่งต่อลูกค้าให้พนักงานเสิร์ฟ

 

  • พนักงานเสิร์ฟ (Server) มีหน้าที่คอยแนะนำเมนูอาหาร รับออเดอร์และส่งออเดอร์ไปยังครัว รวมถึงเป็นคนดูแลคำขอพิเศษจากลูกค้า และเสิร์ฟอาหารโดยโต๊ะอาหาร 1 โต๊ะ ควรมีพนักงานเสิร์ฟประจำโต๊ะ 1 คน เพื่อการสื่อสารที่ง่ายขึ้น และการดูแลลูกค้าที่สะดวกทั่วถึงขึ้น ไม่ต้องสลับกันรับออเดอร์ หรือเสิร์ฟไป ๆ มา ๆ เพราะในบางทีที่ชุลมุน บางคำขอจากลูกค้าอาจตกหล่นเมื่อพนักงานวุ่น ๆ แล้วสลับกันดูแลแต่ละโต๊ะอาหาร

 

  • พนักงานเดินอาหาร (Food Runner) มีหน้าที่รับอาหารจากในครัวแล้วส่งต่อให้เด็กเสิร์ฟ ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับร้านอาหารขนาดใหญ่ ที่มีหลายชั้น และโต๊ะอาหารเยอะ ซึ่งจะช่วยให้การให้บริการไวขึ้น

 

  • พนักงานทำความสะอาดโต๊ะ (Busser) มีหน้าที่ทำความสะอาดโต๊ะอาหาร เก็บจานและเศษอาหารต่าง ๆ เข้าไปในครัว และเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องภาชนะ เมนูอาหารบนโต๊ะ และอุปกรณ์เครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนรับลูกค้าเข้ามาใหม่ ซึ่งยิ่งพนักงานทำความสะอาดโต๊ะไวเท่าไหร่ ยิ่งรับลูกค้าเข้ามาเพิ่มได้มากขึ้น 

 


3. พนักงานหลังร้าน (Back-of-stage) 

  • หัวหน้าเชฟ (Chef) คอยสั่งการการทำอาหารของคนครัวต่าง ๆ ควบคุมคุณภาพและตรวจสอบรสชาติอาหาร โดยเป็นผู้สกรีนรสชาติและหน้าตาอาหารครั้งสุดท้ายให้ดีที่สุดก่อนส่งต่อไปที่ลูกค้า นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลสต๊อก คอยนับวัตถุดิบอุปกรณ์ต่าง ๆ และส่งเรื่องไปยังผู้จัดการร้านอาหารต่อด้วย

 

  • ไลน์กุ๊ก (Line Cook) ประกอบอาหารจานหลักต่าง ๆ ซึ่งถ้าร้านใหญ่มากหน่อยจะแบ่งเป็นทั้ง ไลน์กุ๊กครัวร้อน ไลน์กุ๊กครัวเย็น ไลน์กุ๊กของหวาน ซึ่งไลน์กุ๊กจะอยู่หน้าเตา หน้าเคาท์เตอร์ประกอบอาหารใหญ่ ที่นำวัตถุดิบและองค์ประกอบจาก คนเตรียมวัตถุดิบ (Prep Cook) อีกที

 

  • พนักงานเตรียมวัตถุดิบ (Prep Cook) เตรียมส่วนประกอบของอาหาร เครื่องปรุง และสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อการใช้ในส่วนครัว เช่น หั่นผัก เตรียมซอส หรือองค์ประกอบจัดจานต่าง ๆ ซึ่งพนักงานเตรียมวัตถุดิบไม่ต้องชำนาญด้านการประกอบอาหารเท่าไลน์กุ๊ก แต่ควรมีทักษะการใช้เครื่องครัวขั้นพื้นฐานอยู่บ้าง

 

  • พนักงานล้างจาน​ (Dish Washer) คอยล้างจาน ทำความสะอาดครัว และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ในช่วงก่อนเปิด-ปิด ร้าน 


2.มีระบบการจองโต๊ะและผังการบริการ (Service Blueprint)

 


เจ้าของร้านอาหารหลาย ๆ คนอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้เท่าไรนัก แต่เมื่อพูดถึงการให้บริการแล้ว Service Blueprint เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างมาตรฐานการทำงานเราให้มีคุณภาพและคงคุณภาพบริการระดับประทับใจได้

โดย Service Blueprint เปรียบได้กับแผนภาพการให้บริการนั่นเอง ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของระบบและจุดเชื่อมโยงของลูกค้า พนักงานหน้าร้าน พนักงานหลังร้าน และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบหลัก

  • Customer Journey (User Action) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงถึงประสบการณ์ลูกค้าร้านอาหารตั้งแต่เดินเข้าร้าน ว่าจะต้องต้องทำอะไรบ้างในการใช้บริการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบจ่ายเงิน เดินออกจากร้าน

 

  • Frontstage Actions (Front-of-Stage Interactions) บอกหน้าที่ของพนักงานหน้าร้านว่าต้องสื่อสาร หรือให้บริการลูกค้าในลำดับไหนใน Customer Journey บ้าง

 

  • Backstage Actions (Back-of-Stage Interactions) บอกหน้าที่ของพนักงานหลังร้าน หรือส่วนครัว ว่าจะต้องทำหน้าที่ไหน เพื่อให้บริการลูกค้าได้เร็วและมีประสิทธิภาพบ้าง

 

 

  • Processes (Support Processes) คือเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ตลอดการให้บริการลูกค้า 

 

3.ใช้เทคโนโลยีดี ๆ อย่าง เครื่อง T70 Order POS มาเป็นเครื่องทุ่นแรง


 

บางครั้งร้านอาหารใหญ่ ๆ ที่มีแบบแผนการทำงานฉบับเดิมส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เน้นทำงานกันแบบ Manual ซึ่งอาจจะไม่ตอบโจทย์กิจการร้านอาหารยุคปัจจุบันที่เน้นความเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นหัวใจหลักของธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งการหันมาปรับตัวใช้เทคโนโลยีร้านอาหารดี ๆ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยหลักที่ลดภาระพนักงาน ทำงานได้อย่างเป็นระบบ แม่นยำ และไร้ข้อผิดพลาดมากขึ้น

"Order POS ระบบจัดการร้านอาหาร" (สนใจระบบเพิ่มเติม คลิกที่นี่) ที่มาพร้อมฟีเจอร์แบบครอบคลุมทุกการให้บริการ ตั้งแต่งานหน้าร้าน ไปจนถึงงานหลังร้าน ระบบนี้จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารขนาดใหญ่ดูแลร้านได้ง่ายขึ้น แบบเสกนิ้วปุ๊ป เข้าถึงได้ทุกชุดข้อมูลได้ปั๊บ ไม่ต้องอยู่หน้าร้านก็รู้ภาพรวมของร้านได้เลยทันที



บทความที่เกี่ยวข้อง
Brand Loyalty รักษาลูกค้าเดิม เพิ่มเติมลูกค้าใหม่
การสร้าง Brand Loyalty รักษาลูกค้าเดิม เพิ่มลูกค้าใหม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง อ่านบทความนี้กระจ่างแน่นอน!
28 พ.ย. 2024
SOP คู่มือตัวเก่ง ธุรกิจทำได้ เติบโตแบบปังๆ
หลายๆ คนน่าจะรู้จัก SOP (Standard Operating Procedure) แต่บางท่านอาจจะไม่ทราบ งั้นมาดูกันว่า SOP ที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมีมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
28 พ.ย. 2024
QSC กุญแจสำคัญ ไขความลับธุรกิจแบบปังๆ
กุญแจสำคัญในการบริหารจัดการร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จในระดับโลกนั้น เรียกสั้นๆ ว่า QSC นอกจากรสชาติแล้ว การบริการก็ต้องทำถึงด้วย
28 พ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การรับประกันสินค้า และ การรับประกันสินค้า
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy