6 เทคนิคการตลาดร้านเล็ก งบการตลาดน้อยก็ยอดพุ่งได้
1.ทำโปรโมชันเรียกลูกค้าใหม่ ดึงลูกค้าเก่า กระตุ้นยอดขาย
โปรโมชันเป็นอีกสิ่งที่ลูกค้ามองหา ร้านอาหารร้านไหนที่มีโปรโมชันก็มักจะได้รับความสนใจจากลูกค้าเสมอ นอกจากนี้การทำโปรโมชันยังเป็นการทำการตลาดร้านเล็กที่ไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรเพิ่มเติม เริ่มทำง่ายแถมช่วยดึงความสนใจลูกค้า กระตุ้นยอดขาย ยกตัวอย่างเช่น
- โปร ซื้อ 1 แถม 1
- ลดราคาเมนูอาหาร
- จำกัดเวลาโปรโมชันหรือ Happy hour
- มีตัวอย่างสินค้าให้ลองชิม
- ทำเมนูเซ็ตสุดคุ้ม
- เพิ่มไซส์ราคาพิเศษ
- ทำบัตรสะสมแต้ม
โปรโมชันเหล่านี้ สามารถปรับใช้ได้ทั้งร้านอาหารร้านเล็ก ร้านกาแฟ/คาเฟ่ และ ในมุมลูกค้า ก็มักจะมองหาร้านและเมนูที่กำลังจัดโปรโมชันอยู่ เพราะรู้สึกว่าคุ้มกว่า น่าลอง นอกจากนี้ การทำโปรโมชันยังช่วยให้รักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย ผ่านโปรโมชันอย่าง ระบบสมาชิก หรือ บัตรสะสมแต้ม รวมไปถึง สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเก่า
2. "ตีสนิทลูกค้า" ผ่านช่องโซเชียลมีเดียของเรา
อยากทำการตลาดร้านเล็ก จะเริ่มจากอะไรดี? เริ่มจากการทำ "การตลาดบนโซเชียลมีเดีย (social media marketing)" ก่อนเลย เพราะเป็นวิธีการทำการตลาดที่สอดคล้องกับวิธีรับข่าวสารของผู้คน และยังไม่ต้องใช้งบการตลาดสักบาท แค่คุณเปิดบัญชีบน Instagram หรือสร้างแฟนเพจร้านบน Facebook ให้คนติดตาม ช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางที่ร้านสามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นแนะนำเมนูอาหารที่น่าสนใจ ลงรูปเมนูต่างๆ กระตุ้นให้คนอยากมาร้านหรือเข้ามาทาน โปรโมตร้านว่ากำลังมีโปรโมชันอะไรที่ลูกค้าไม่ควรพลาด ร้านกำลังมีกิจกรรมอะไร ตลอดจนการบอกข่าวสารทั่วไป เช่น วันนี้ร้านหยุด , พรุ่งนี้กำลังจะมีเมนูพิเศษ หรือแม้กระทั่งทักทายลูกค้าและเชิญชวนพวกเขามารับประทานหรือสั่งอาหาร ถือเป็นการ "ตีสนิท เพิ่มปฏิสัมพันธ์ (Engagement) กับลูกค้า"
นอกจากนี้ โซเชียลมีเดียยังเป็นช่องทางที่สะดวกสำหรับลูกค้า สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามรายละเอียด ถามทาง จองโต๊ะ หรือสั่งอาหารไว้ก่อนได้อีกด้วย
การทำโฆษณา เป็นอีกกลยุทธ์การตลาดที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคดิจิทัลนี้ เพราะการ ยิงแอด หรือทำโฆษณาออนไลน์จะช่วยทลายปราการทำเล เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางมากขึ้น โดยการยิงแอดร้านอาหารก็สามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ผ่านช่องทางการทำการตลาดที่หลากหลาย
- ยิงแอดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น ยิงแอด Facebook ยิงแอด Instagram ยิงแอด LINE ฯลฯ โดยการยิงแอดผ่านช่องทางเหล่านี้ ร้านจะต้องทำโพสต์หรือคอนเทนต์สำหรับโปรโมตร้านก่อน โดยค่ายิงแอดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละแพลตฟอร์ม
- ยิงโฆษณา Google Ad ให้เว็บไซต์ ให้คนที่กำลังเสิร์ชหาของกินหรือร้านอาหารบน Google มีโอกาสมองเห็นร้านอาหารของเรา ซึ่งหากร้านไหนไม่มีเว็บไซต์ แนะนำให้สร้างโปรไฟล์ธุรกิจบน Google My Business ที่สามารถใส่ข้อมูลร้านค้า แผนที่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ รูปภาพร้าน ฯลฯ มาใช้ยิงแอดได้
4. Marketing ฉบับร้านเล็ก ต้องปากต่อปาก
การตลาดที่น่าจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อหรือมากินอาหารที่ร้าน คงหนีไม่พ้น การตลาดแบบปากต่อปาก คือการที่มีคนบอกต่อให้เขาฟังว่า ร้านนี้ดีอย่างไร ทำไมถึงน่าไป แล้วพูดต่อๆ กัน เพราะธรรมชาติของคนเรา มักจะเชื่อถือเพื่อน ครอบครัว หรือบุคคลที่สามมากกว่า คำกล่าวโฆษณาหรือการที่ร้านเป็นคนบอกว่าร้านดีอย่างไรนั่นเอง
ซึ่งวิธีการตลาดแบบบอกต่อเป็นวิธีการที่ได้ผลสูงและไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ ในการทำ เพียงแต่ว่า อาจจะทำได้ยากและต้องอาศัยการสร้างแบรนด์ (Branding) มาก่อนในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าบอกต่อ แชร์ร้านต่อ มีทริปเล็กๆ ที่น่าทำตาม 3 ทริป ได้แก่
- สร้างความประทับใจ ไม่ว่าจะจากบริการหรือรสชาติของอาหารที่ อร่อยจนต้องบอกต่อ ทั้งนี้ ร้านต้องมีมาตรฐานในการให้บริการและมาตรฐานคุณภาพ เพื่อไม่สร้างความผิดหวังให้ลูกค้าใหม่
- ร้านหรือเมนูอาหารมอบคุณค่าทางสังคมให้ได้ เช่น กินสิ่งนี้ กินที่ร้านนี้ แล้วคนมองว่า เขามีรสนิยม หรือเป็นคนแบบไหน ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับลูกค้าได้
- สร้างความผูกพันกับลูกค้า (brand loyalty) เมื่อลูกค้าเกิดความผูกพันกับตัวร้าน เจ้าของร้าน หรืออาจจะเป็นพนักงานในร้าน ก็มีแนวโน้มที่ลูกค้าจะพูดถึงร้านบ่อยๆ หรือถ่ายรูปเช็กอินที่ร้าน ว่าได้มาเยือนอีกแล้ว
5. ใช้พลัง "รีวิวตกลูกค้าใหม่ให้อยากตามมาทานที่ร้าน"
ต่อจากเทคนิคปากต่อปาก ก็ต้องตามมาด้วยเทคนิคนี้เลย นั่นคือการใช้พลังรีวิวของลูกค้าให้เป็นประโยชน์ เพราะลูกค้าส่วนมากมักจะหารีวิวอ่านเกี่ยวกับร้านที่ต้องการมาทาน และต้องการรู้ก่อนว่า อาหารอร่อยหรือไม่ บริการเป็นอย่างไร เพื่อให้แน่ใจได้ว่า เมื่อมาสั่งอาหารหรือมากินอาหารที่ร้านจะไม่ผิดหวัง
ซึ่งวิธีการนี้เป็นการทำการตลาดร้านเล็กที่ทำได้ทุกร้านและไม่ใช่งบประมาณการตลาดใดๆ ทำง่ายและให้ผลลัพธ์สูง ทั้งนี้ อาหารและบริการของร้านต้องดีจริง เพราะการเปิดช่องทางให้ลูกค้ารีวิวก็เป็นการเปิดรับทั้งคำชมและข้อตำหนิ โดยแนะนำอยู่ 2 ช่องทาง
- โซเชียลมีเดียทุกช่องทาง เพราะเป็นช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อกับร้านอาหารได้ง่าย นอกจากนี้ ยังสามารถ Tag ร้านหรือติด Hastage (#) เพื่อพูดคุยถึงร้านได้ตรงๆ อีกทั้ง เมื่อมีคนเห็นและชื่นชอบข้อคิดเห็นหรือโพสต์ข้างต้น ก็สามารถแชร์ได้ง่ายๆ อาจช่วยให้ร้านเป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็ว
- Google My Business โดยการสร้างโปรไฟล์ธุรกิจบน Google ทำให้ร้านอาหารมีโอกาสปรากฏบนหน้าค้นหาของ Google ซึ่งลูกค้าสามารถเข้ามาดูโปรไฟล์ร้าน เวลาเปิด-ปิด เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ช่องทางเว็บไซต์/โซเชียลมีเดีย แผนที่ รวมถึงรีวิวและรูปภาพบรรยากาศร้านได้
6.Menu Everywhere ลูกค้าดูเมนูของร้านได้ทุกที่ !
เมนูและรูปภาพอาหารคือส่วนสำคัญที่ลูกค้าจะใช้ตัดสินใจว่า อาหารร้านนี้น่าอร่อย หรือน่ามาลองชิมจัง และสามารถตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อหรือแวะมากินอาหารที่ร้านดีนะ ? นอกจากนี้เมนูที่มีรูปภาพอาหารชัดเจนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะรู้ว่า ที่สั่งไปจะได้อะไร มีหน้าตาแบบไหน ปริมาณประมาณเท่าไรนั่นเอง
ซึ่งกลยุทธ์การตลาดร้านอาหาร Menu Everywhere เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเมนูของร้านได้ตลอดเวลาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักจะหาข้อมูลเกี่ยวกับร้านและเมนูอาหารก่อนตัดสินใจมากินผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว ซึ่งสามารถต่อยอดและใช้ประโยชน์จากเทคนิคอื่นๆ ได้ เช่น มีรูปอาหารพร้อมชื่อเมนูอยู่ใน อัลบัมเมนู บน Facebook Page ร้านของคุณ หรือบนบัญชี Instagram ของร้าน บนเว็บไซต์ร้าน
ให้คุณจำเอาไว้ว่าคุณทำอาหารอร่อยแล้ว แถมยังทำน่ากินอีกด้วย อย่าลืมถ่ายรูปอัพเดตลงช่องทางต่างๆ ของร้านคุณให้ลูกค้าสามารถดูเมนูและรูปอาหารของร้านได้จากทุกที่ ทุกแพลตฟอร์ม พร้อมใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน ชื่อเมนูให้สั่ง และราคา ช่วยให้ลูกค้าที่ลังเลอยู่ ตัดสินใจได้แน่นอน